ชื่อเรื่อง ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางอิ่มใจ เสียงเอก
ปีที่ทำการวิจัย พ.ศ.
2550
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดกิจกรรมเรียนรู้แบบพหุปัญญากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเยนวิชาวิทยาศาสตร์
ก่อนและหลังเรียนชุดกิจกรรมแบบพหุปัญญญา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ที่กำลังเรียน ปีการศึกษา 2550 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนบ้านบางเทา อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 33 คน โดยการสุ่มแบบเจาะสง (Purposive
Sampling) เพื่อทำการทดสอบหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่
แบบทดสอบและชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญา ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วย
1.
แบบทดสอบซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิด 4
ตัวเลือก จำนวน 3 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.20-0.80
ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20 ขั้นไป
มีดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (IOC) เท่ากับ 0.70 1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.86
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบ t-test
2.
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญากุล่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง สารในชีวิตประจำวันที่สร้างขั้นได้นำมาหาประสิทธิภาพ โดยทดลองรายบุคคล
ทดลองกลุ่มเล็ก และแบบภาคสนามกับกลุ่มตัวอย่างสำหรับศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเยน
จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง
สารในชีวิตประจำวัน จำนวน 8 ชุด แผนดารจัดการเรียนรู้
โดยใช้ชุดกิจกรรมกาเรียนรู้แบบพหุปัญญาที่สร้างขึ้น 8 แผน จำนวน 30 ชั่วโมง
ผลการศึกษาพลว่า
ชุดกิจกรรมผู้วิจัยสร้างขึ้นทั้ง 8 ชุด มีประสิทธิภาพ โดยเฉลี่ย 80.41/82.57 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
80/80 คือมีค่าประสิทธิภาพ (EI) เท่ากับ 80.41 ผลสัมฤทธิ์ทางการเยนของนักเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญาสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01