ชื่อเรื่อง     รายงานการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้ศึกษา      นางสาวมณีรัตน์ อารีราษฎร์

ปีที่ศึกษา   2550

 

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ       1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน     2) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดสื่อ “ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ”    3) หาประสิทธิภาพการจัดเรียนการสอน             4) ศึกษาทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์เครื่องมือที่ใช้คือ       แบบตรวจสอบความรู้พื้นฐานการคูณ ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ ชุดที่ 1 – 8 และแผนการสอ ชุดที่ 1 – 5  มีเนื้อหาสนองการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี ข้อ 1      ชุดที่  6 – 8  มีเนื้อหาสนองการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง รายปีข้อ 2    เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เป็นแบบเติมคำตอบ แสดงวิธีทำ แต่งโจทย์และสร้างสรรค์ชิ้นงาน ได้ปรับปรุงให้เป็นเครื่องมือวัดที่ดี  มีค่าความเชื่อมั่น  ฉบับที่ 1  เท่ากับ  0.82     ฉบับที่  2  เท่ากับ   0.87           กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2550   ที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากชุดฝึก     นอกเวลาเรียนปกติ จำนวน 34 คน ทุกคนผ่านการตรวจสอบความรู้พื้นฐาน   และใช้ข้อมูลที่ได้แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มอ่อน  ปานกลาง   และเก่ง   เพื่อการดูแลเป็นพิเศษและจัดสื่อให้เรียนได้อย่างเหมาะสม    กับสภาพปัญหาของแต่ละคน/กลุ่ม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  นำผลที่ได้      ไปหาค่าประสิทธิภาพของแผนการสอน / ชุดฝึก           ค่าดัชนีประสิทธิผลค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย            และทดสอบความแตกต่างของคะแนนโดยการหาค่า t

               ผลการศึกษา พบดังนี้

                1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกกลุ่ม     (อ่อน ปานกลาง เก่ง)      หลังเรียนสูงกว่า        ก่อนเรียน โดยมีคะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                  2. ประสิทธิภาพของชุดสื่อ ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี ข้อ 1  และ  2     และเป็นรายชุด        มีมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (80/80 และ 75/80) และมีค่าดัชนีประสิทธิผลอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้

               3.  ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน โดยภาพรวม  แผนการสอน / ชุดฝึก ชุดที่  1 - 7            ทำให้การจัดการเรียนการสอนอยู่ในเกณฑ์ดีมากและดี

                4.  ผลการสังเกตและสัมภาษณ์นักเรียน  นักเรียนมากกว่าร้อยละ  80  สนใจเรียน   ทำแบบฝึก        ได้ถูกมากกว่าปกติ และชอบวิธีเรียนลักษณะนี้

               นอกจากนี้ในปีการศึกษา  2551  ได้นำชุดฝึกไปใช้ในการพัฒนา การเรียนการสอนในระดับห้องเรียนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทั้งโรงเรียน จำนวน 107 คน ผลปรากฏ ค่าเฉลี่ยหลังเรียน   สูงกว่าก่อนเรียน ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังข้อ 1,2 คิดเป็นร้อยละของคะแนนเต็ม 81.31,85.98 ตามลำดับ  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มอ่อน ปานกลาง และเก่ง ลดลง ประสิทธิภาพการสอนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก นักเรียนมีความรู้ความสามารถ และทักษะการคูณพัฒนาขึ้นมาก และชอบเรียนคณิตศาสตร์