ว่าด้วย แนวทางการปฏิบัติตนของนักเรียน
ิ ตามความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็น
มนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ฉะนั้น ทางโรงเรียน
จึงได้กำหนดระเบียบสถานศึกษา ว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติตนของนักเรียน โรงเรียนบ้านบางเทาเพื่อให้บรรลุตามความมุ่งหมายด้วย โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
โรงเรียน ครูผู้สอน คณะกรรการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
หมวดที่ 1 วินัยนักเรียนที่พึงปฏิบัติ
- นักเรียนต้องมีเครื่องแต่งกาย เครื่องเขียน แบบเรียน เครื่องใช้ต่าง ๆ ตามที่โรงเรียนกำหนด
- นักเรียนแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักเรียนของโรงเรียนตั้งแต่ออกจากบ้านมาโรงเรียนจนกลับบ้าน
- นักเรียนมาถึงโรงเรียนต้องถือว่าอยู่ในความควบคุมดูแลของครู
- นักเรียนจะออกนอกบริเวณโรงเรียนต้องได้รับอนุญาตจากครูประจำชั้น ครูประจำรายวิชา ครูเวรประจำวัน/ฝ่ายปกครอง
- ที่มาโรงเรียนสายต้องมารายงานตัวต่อครู และขอรับบัตรอนุญาตเข้าชั้นเรียนต่อฝ่ายปกครอง และอาจารย์ประจำวิชาทุกครั้ง
- นักเรียนต้องอยู่ในโอวาทของครู - อาจารย์ ทุกคน ทั้งให้ความเคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนไม่แสดงอาการแข็งกระด้าง
- นักเรียนต้องประพฤติตนให้เหมาะสมกับสภาพของนักเรียน เช่นไม่เที่ยวเตร่ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ไม่เล่นการพนัน ไม่ลักทรัพย์ และทำชู้สาวกับบุคคลภายในและ
ภายนอกโรงเรียน
- นักเรียนต้องแสดงกิริยาสุภาพอ่อนโยนต่อบุคคลทั่วไป รักษาความสามัคคีในหมู่คณะ ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียงมาสู่โรงเรียน
- นักเรียนต้องเข้าร่วมและช่วยเหลือกิจกรรมโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้า
- นักเรียนต้องมีวัฒนธรรมในการรักษาทรัพย์สมบัติของโรงเรียนมิให้เกิดการชำรุด
หมวดที่ 2 การปฏิบัติตนของนักเรียน
- นักเรียนควรพึงรู้ตนเสมอว่าเป็นนักเรียนต้องปฏิบัติตนให้เป็นระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด
- นักเรียนพึงปฏิบัติตนให้เป็นคนดี มีความขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติตนให้เป็นที่รักของบิดา-มารดา-ครู
- นักเรียนของโรงเรียนบ้านบางเทาทุกคนพึงมีความรักใคร่ สามัคคีกลมเกลียวในระหว่างเพื่อนร่วมชั้นและนับถือรุ่นพี่ รุ่นน้องผู้ใดทำให้เกิดความแตกแยกสามัคคี
บ่อนทำลายความสามัคคีและความมั่นคงของหมู่คณะ คือบุคคลที่ไม่พึงปรารถนาของโรงเรียนบ้านบางเทา
- นักเรียนของโรงเรียนบ้านบางเทาทุกคน ต้องมีบัตรประจำตัวนักเรียนที่ออกโดยฝ่ายปกครองของโรงเรียน และต้องนำติดตัวทุกครั้งที่มาโรงเรียน
หมวดที่ 3 การปฏิบัติก่อนเข้าห้องเรียนของนักเรียน
- เพลงชาติจบ (08.01 น.) ให้นักเรียนทุกคนเตรียมตัวเข้าแถวหน้าเสาธงโดยพร้อมเพรียงกัน
- สัญญาณครั้งที่ 1(08.15 น.) เข้าแถวเตรียมตัวรับคำสั่งจากประธานนักเรียน และอาจารย์เวรผู้ประกาศหน้าเสาธง
- นักเรียนทุกคนต้องร้องเพลงชาติพร้อมกันด้วยความเคารพ สวดมนต์แผ่เมตตา กล่าวคำปฏิญาณ และฟังการอบรม ฟังข่าวสารการนัดหมายด้วยความสงบเรียบร้อย
- เดินเข้าเรียนแถวสงบเรียบร้อย ไม่นั่งอยู่หน้าห้องหรือแตกแถวไปทำธุระที่อื่นอีกเป็นอันขาด
- นักเรียนที่มาทีหลังจากธงชาติขึ้นสู่ยอกเสาแล้ว ถือว่ามาสายต้องพบอาจารย์เวรและขอบัตรเข้าชั้นจากอาจารย์เวร หรือฝ่ายปกครอง เพื่อนำไปแสดงต่ออาจารย์ประจำ
วิชาที่กำลังสอนอยู่
- ถ้าจำเป็นต้องมาสายให้มีหนังสือรับรองจากผู้ปกครองมาแสดง
- นักเรียนมาสายเกิน 3 ครั้งติดต่อกัน โรงเรียนจะเรียกผู้ปกครองมาพบเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง
หมวดที่ 4 การปฏิบัติตนในห้องเรียน
- นักเรียนต้องอยู่ภายในห้องเรียนด้วยความเรียบร้อย ไม่ส่งเสียงอึกทึกหรือเล่นกัน ไม่ลุกจากที่นั่งก่อนได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
- นักเรียนทุกคนมีหน้าที่ทำความสะอาดห้องเรียนรักษาความสะอาด รักษาทรัพย์สินภายในห้องเรียน ไม่ทุบทำลายและจัดห้องเรียนให้เรียบร้อยน่าอยู่อาศัย
- นักเรียนไม่นำวิชาอื่นขึ้นมาทำขณะที่ครูกำลังสอนอยู่
- ไม่นำอาภรณ์ของมีค่า อาวุธหรือสิ่งอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนเข้ามาไว้ภายในห้องเรียน
- ขณะที่ครูกำลังสอน ถ้าออกนอกห้องเรียนต้องขออนุญาตก่อน
- การเปลี่ยนห้องเรียน ต้องเดินไปเป็นแถว สงบและเรียบร้อย
- ไม่นำอาหาร เครื่องดื่ม เข้าไปรับประทานในห้องเรียน
- เมื่อครูประจำวิชาไม่เข้าสอนเกิน 5 นาที ให้หัวหน้าชั้นหรือตัวตัวไปรายงารนอาจารย์หัวหน้าหมวดวิชานั้น เพื่อจัดครูเข้าสอนแทน
- นักเรียนต้องถอดรองเท้าวางไว้ ณ ที่เก็บที่จัดไว้ให้ ไม่สวมหมวก หรือปลดกระดุมเสื้อ
- ต้องไม่นำชอล์คหรือสิ่งของภายในห้อง เช่น แปรงลบกระดาน ไว้กวาด มาข้างปาเล่น หรือขีดเขียนโต๊ะ ฝาผนังห้อง โดยเด็ดขาด
- เมื่อเกิดการวิวาทกันในห้องเรียน หรือระหว่างห้องเรียน อย่าตัดสินกันเอง ควรรายงานให้อาจารย์ประจำชั้น หรือหัวหน้าอาคารทราบ
หมวดที่ 5 การออกนอกห้องเรียนขณะทำการเรียนการสอน
- ในระหว่างที่มีชั่วโมงเรียน นักเรียนต้องอยู่ในห้องเรียน จะไปอยู่ตามสนามกีฬา โรงอาหารหรือห้องสมุดไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาดครู-อาจารย์
- ถ้าจำเป็นต้องออกจากห้องเรียนต้องขออนุญาตจากอาจารย์ประจำวิชาในชั่วโมงนั้น
- ในกรณีที่ครูไม่อยู่หรือยังไม่เข้าสอน นักเรียนต้องอยู่ในห้องเรียนด้วยความสงบ ไม่ส่งเสียงหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนห้องข้างเคียง ถ้าจำเป็นต้อง
ออกนอกห้องต้องแจ้งให้หัวหน้าชั้นทราบ
- การเข้าห้องเรียนขณะที่อาจารย์ทำการสอนอยู่จะต้องขออนุญาตเป็นการเข้าเรียนช้าควรแสดงบัตรอนุญาตเข้าชั้นเรียน
หมวดที่ 6 การใช้ยานพาหนะ
- นักเรียนจะนำรถจักรยานยนต์มาโรงเรียน ต้องทำใบขับขี้ให้เรียบร้อย และต้องได้รับอนุญาตจากฝ่ายปกครองเสียก่อน
- นักเรียนต้องนำรถจอดที่โรงเก็บรถอย่างเป็นระเบียบ
- ถ้านักเรียนจะกลับบ้านหรือออกนอกบริเวณโรงเรียนก่อนโรงเรียนเลิก ต้องแสดงบัตรอนุญาตกับยามเฝ้าประตูโรงเรียนก่อนนำรถออกจากโรงเก็บรถ
(ถ้านักเรียนคนใดนำรถออกจากโรงเรียนมิได้รับอนุญาต จะถือว่าส่อไปในทางลักขโมย)
- ให้นักเรียนชะลอความเร็วของรถ โค้งคำนับและกล่าวสวัสดี
- ถ้านักเรียนพบครูยืนอยู่หน้าประตูโรงเรียนตอนเช้าเลิกเรียน ให้นักเรียนยืนคำนับ นักเรียนหญิงถ้ามือว่างพอที่จะไหว้ก็ให้ไหว้ ถ้าขี่จักรยานให้ชะลอความเร็ว
แล้วโค้งคำนับ
- ถ้าผู้ปกครองขับรถใด ๆ มาส่ง ให้นักเรียนลงที่หน้าประตูทุกคนและทำความเคารพตามวรรคแร
หมวดที่ 7 การปฏิบัติตามกฎจราจร
- นักเรียนต้องข้ามถนนตรงทางม้าลาย หรือตรงที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรบริการอยู่
- นักเรียนต้องขึ้นรถโดยสารที่หน้าโรงเรียน
- เมื่อขึ้นรถแล้วต้องหาที่นั่งภายในรถให้เรียบร้อย อย่ายืนขวางประตูขึ้นลง ห้อยโหนตามบันไดและไม่ขึ้นนั่งบนหลังคารพ
- นักเรียนต้องนั่งภายในรถให้เรียบร้อยอย่าเดินไปมา
- เวลาจะขึ้นหรือลงรถ ให้รถจอดสนิทก่อนอย่าเกาะหรือกระโดดลง
- เมื่อลงรถอย่าข้ามถนนด้านหลังรถ เพราะรถที่สาวนมามองไม่เห็น และอาจจะชนได้
- ห้ามนักเรียนโบกรถอื่นที่ไม่ใช่รถประจำทางกลับบ้าน
หมวดที่ 8 การขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียนหรือกลับบ้าน
- ผู้ปกครองต้องมาขอลาด้วยตนเอง หรือเป็นลายลักษณ์อักษร การลาทางโทรศัพท์จะไม่อนุญาตเพราะตรวจสอบไม่ได้
- นักเรียนแจ้งป่วยกะทันหัน
- เขียนหนังสืออนุญาตที่ฝ่ายปกครองยื่นต่อครูประจำชั้น ครูประจำวิชา ครูเวร
- รับบัตรจากฝ่ายปกครองและนำบัตรมาส่งให้ฝ่ายปกครองเมื่อกลับจากธุรกิจแล้ว
- ในกรณีที่โรงเรียนมีความจำเป็นส่งนักเรียนกลับบ้าน รับแบบส่งนักเรียนกลับบ้านจากฝ่ายปกครองรับทราบแล้วนำมาคืนฝ่ายปกครอง
หมวดที่ 9 การรับประทานอาหารกลางวัน
- ไม่รับประทานอาหารก่อนเวลาพักหรือพักเวลาที่ทางโรงเรียนกำหนด
- ไม่นำอาหารไปรับประทานในห้องเรียนหรือในห้องประชุม
- ถ้าจำเป็นต้องรับประทานอาหารก่อนเวลาพักเที่ยง ให้ขออนุญาตจากอาจารย์เวรก่อน
- ภาชนะที่ใส่อาหารทุกชนิด อย่าทิ้งไว้นอกโรงอาหาร
- ต้องรักษามารยาทในการรับประทานอาหารไม่นั่งยอง ๆ บนเก้าอี้หรือส่งเสียงดัง หรือรับประทานอาหารอย่างมูมมาม
หมวดที่ 10 การแสดงความเคารพ
การแสดงความเคารพเป็นการแสดงออกของผู้ที่ได้รับการศึกษา อบรม โรงเรียนจึงกำหนดระเบียบการเคารพขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อปลูกฝังนิสัยให้นักเรียนเป็นคน
สุภาพอ่อนน้อม รู้จักเคารพครูอาจารย์ และผู้ใหญ่ ดังนี้
- การแสดงความเคารพภายในโรงเรียน
1.1 นักเรียนต้องถือว่าอาจารย์ภายในโรงเรียนเป็นครู-อาจารย์ ของนักเรียนทุกคนต้องให้ความเคารพ นับถือ เชื่อฟัง
1.2 เมื่อนักเรียนนั่งอยู่กับที่ ถ้ามีครูเดินผ่านมาระยะใกล้พอควร ให้นักเรียนชายยืนตรงหรือยกมือไหว้ นักเรียนหญิงยืนตรงแล้วไหว้
1.3 เมื่อนักเรียนเดินสวนกับครู - อาจารย์ ให้นักเรียนหยุดเลี่ยงหันหน้าทำความเคารพเช่นเดียวกับข้อ 1.2
1.4 เมื่อนักเรียนเดินตามหลังอาจารย์ไม่ควรแซงขึ้นหน้า ถ้าจำเป็นจริง ๆ นักเรียนต้องกล่าวคำว่า "ขอโทษ" ก่อน เช่น พูดคำว่า "ขอโทษครับ (ค่ะ)" และถ้าอาจารย
์
เดินตามหลังนักเรียนมาใกล้ ๆ ควรหยุดให้อาจารย์เดินผ่านไปก่อน
1.5 ลูกเสือ - เนตรนารี ยุวกาชาดและนักศึกษาวิชาทหารที่อยู่ในเครื่องแบบ ให้ทำความเคารพตามระเบียบของเครื่องแบบนั้น ๆ ทุกกรณี
1.6 เมื่อครูเข้าห้องเรียนหรือออกจากห้องเรียน ให้หัวหน้ากล่าวว่า "นักเรียนเคารพ" โดยนักเรียนทั้งหมดยืนตรงหรือนักเรียนชายยืนตรง นั่งเรียนหญิงนั่งกราบ และ
กล่าวพร้อมกันว่า "สวัสดีครับ (ค่ะ)" หรือ "ขอบคุณครับ (ค่ะ)"
1.7 นักเรียนพูดกับอาจารย์ต้องยืนตรงในลักษณะสำรวม เมื่อพูดเสร็จแล้วแสดงความเคารพก่อนจากไป
1.8 เมื่อนักเรียนเข้าพบครูขณะที่ครูนั่งอยู่ที่โต๊ะ ให้ยืนห่างโต๊ะประมาณ 1 ก้าว นักเรียน่ชายโค้งาคำนับ นักเรียนหญิงไหว้แล้วนั่งคุกเข่าลง ในกรณีที่เข้าพบมาก ๆ ให้เข้าแถวอย่ารุมล้อมโต๊ะครู
1.9 เมื่อมีผู้ใหญ่มาเยี่ยมที่ห้องเรียน ให้นักเรียนฟังครู - อาจารย์ที่สอนอยู่สั่งการถ้านักเรียนพบในบริเวณโรงเรียน ให้ทำความเคารพเช่นเดียวกับครู-อาจารย์
- แสดงความเคารพภายนอกโรงเรียน
เมื่อพบครู - อาจารย์ภายนอกโรงเรียน ให้นักเรียนทุกคนทำความเคารพโดยการ "ไหว้" และกล่าวคำว่า "สวัสดี" ถ้านักเรียนสวนกับครูที่ขี่จักรยาน หรือรถจักรยานยนต์
หมวดที่ 11 การลาป่าย ลากิจ
- ผู้ปกครองต้องมาลาต่ออาจารย์ประจำชั้นด้ายตัวเอง
- เขียนใบลาโดยมีคำรับรองของผู้ปกครอง ถ้าลากิจธุระต้องส่งล่วงหน้า 1 วัน คำรับรองต้องมีลายเซ็นของผู้ปกครองคนเดียวกับใบมอบตัว หรือผู้ปกครองคนที่ 2
(หากปลอมลายเซ็นต์ผู้ปกครองถือเป็นโทษสถานหนัก)
- ถ้านักเรียนหยุดเรียนติดต่อกันเกิน 3 วัน โดยไม่แจ้งให้ทางโรงเรียนทราบ โรงเรียนจะติดต่อกับผู้ปกครองทางไปรษณียบัตร ให้ผู้ปกครองแจ้งเหตุผลมายังโรงเรียน
ถ้าส่งทางไปรษณียบัตรแล้วไม่แจ้งมาทางโรงเรียน จะติดต่อกับผู้ปกครอง ดังนี้
ก. เชิญผู้ปกครองมาพบที่โรงเรียน
ข. หากผู้ปกครองไม่มาพบภายใน 7 วัน ฝ่ายปกครองจะเสนอผู้อำนวยการเพื่อสั่งพักการเรียนหรือให้คัดชื่อออก
- เมื่อนักเรียนส่งใบลาต่ออาจารย์ประจำชั้นให้อาจารย์ประจำชั้นแนบใบลาไว้ในใบเซ็นต์ชื่อของอาจารย์ประจำวิชา ที่หัวหน้าหมวดทุกใบ
หมวดที่ 12 การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องเรียน
- นักเรียนต้องรักษาความสะอาดของห้องเรียน โดยแบ่งหน้าที่เป็นเวรรักษาความสะอาด
- นักเรียนต้องช่วยกันรักษาความสะอาดของบริเวณโรงเรียน ไม่ทิ้งเศษกระดาษ หรือขีดเขียนตามโต๊ะอาหาร
- นักเรียนต้องไม่เคลื่อนย้ายโต๊ะ หรือม้านั่งออกนอกห้องเรียนก่อนได้รับอนุญาต
- นักเรียนไม่ขีดเขียนฝาผนัง ม้านั่ง ดึงหรือแกะทำลายทรัพย์สินของโรงเรียน เช่น ปลั๊กไฟ สวิตซ์ ไฟฟ้า สายไฟฟ้า กระจกหน้าต่าง ประตู และอื่น
<<TOP>>
ระเบียบว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน
ตามที่โรงเรียนบ้านบางเทา ได้กำหนดให้มีระเบียบของสถานศึกษา ว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติตนของนักเรียนโรงเรียนบ้านบางเทา และระเบียบว่าด้วยการลง
โทษนักเรียนนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการใช้ระเบียบดังกล่าว ทางโรงเรียนจึงได้กำหนดระเบียบว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน ดังนี้
1. เครื่องแบบนักเรียนชาย
1.1. ชั้นประถมศึกษา
1.1.1 เสื้อเชิ้ตคอตั้ง ผ้าขาวเนื้อเรียบไม่บางจนเกินไป ผ่าอกตลอด สาบกว้าง 3-4 ซ.ม. กระดุมขาว เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซ.ม. แขนสั้นเพียงข้อศอกพองามมีกระเป๋
าติดอกข้างซ้ายขนาดกว้าง 8-12 ซ.ม. ลึก 10-15 ซ.ม. ด้านหลังไม่มีจีบ เมื่อใส่เข้าในกางเกงให้เห็นเข็มขัดรัดรอบตัว
1.1.2 กางเกง ใช้กางเกงผ้าสีกากีทรงแบบไทยขาสั้นเหนือเข่าเมื่อวัดจากกลางลูกสะบ้าประมาณ 10 ซ.ม. ส่วนกว้างขอบขาเมื่อยืนตรงจะกว้างจากขาประมาณ
8-10 ซ.ม. ปลายขาพับไว้ข้างในกว้าง 5 ซ.ม. ผ่าตรงส่วนหน้าใช้ซิปมีกระเป๋าเล็กข้างหน้า หรือกระเป๋าหลัง มีหูสำหรับสอดเข็มขัด 5-7 หู
1.1.3 เข็มขัด ใช้เข็มขัดลูกเสือสีน้ำตาลไม่มีลวดลาย กว้าง 3-4 ซ.ม. เจาะรูเดียวมีปลอกหนังสีเดียวกับเข็มขัด
1.1.4 รองเท้า ใช้รองเท้าผ้าใบหรือหนัง ชนิดหุ้มส้นสีน้ำตาล ไม่มีลวดลาย มีสายเชือกผูกสีเดียวกับรองเท้า ห้ามใช้รองเท้าหัวตัด หัวแหลมส้นสูงหรือมีขอบสีขาว
โดยเด็ดขาด
1.1.5 ถุงเท้า ใช้ถุงเท้าสีน้ำตาล ไม่มีลวดลายหรือสีอื่นปน ยาวครึ่งหน้าแข้ง เวลาสวมต้องดึงขึ้นมาให้สุด ความยาวของถุงเท้า ห้ามพับ
1.1.6 ทรงผม นักเรียนชั้นประถมศึกษา ไว้ผมส่วนหน้ายาวไม่เกิน 2 ซ.ม. ส่วนบนยาวไม่เกิน 1/2 ซ.ม.
1.2. ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3)
1.2.1 เสื้อเชิ้ตคอตั้ง ผ้าขาวเนื้อเรียบไม่บางจนเกินไป ผ่าอกตลอด สาบกว้าง 3-4 ซ.ม. กระดุมขาว เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซ.ม. แขนสั้นเพียงข้อศอกพองาม
กระเป๋าติดอกข้างซ้ายขนาดกว้าง 8-12 ซ.ม. ลึก 10-15 ซ.ม. ด้านหลังไม่มีจีบ เมื่อใส่เข้าในกางเกงให้เห็นเข็มขัดรัดรอบตัว
1.2.2 กางเกง ใช้กางเกงผ้าสีกรมท่าขาสั้นเหนือเข่าเมื่อวัดจากกลางลูกสะบ้าประมาณ 10 ซ.ม. ส่วนกว้างขอบขาเมื่อยืนตรงจะกว้างจากขาประมาณ
8-10 ซ.ม. ปลายขาพับไว้ข้างในกว้าง 5 ซ.ม. ผ่าตรงส่วนหน้าใช้ซิปมีกระเป๋าเล็กข้างหน้า หรือกระเป๋าหลัง มีหูสำหรับสอดเข็มขัด 5-7 หู
1.2.3 เข็มขัด ใช้เข็มขัดสีดำ หัวสี่เหลี่ยมสีเงิน ชนิดกลัดหัวรูเดียว มีปลอกหนังสีเดียวกับเข็มขัด
1.2.4 รองเท้าและถุงเท้า ใช้แบบเดียวกับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเวลาสวมต้องดึงขึ้นมาให้ยาวสุดความยาว
1.2.5 ทรงผม ส่วนหน้ายาวไม่เกิน 4 ซ.ม. ส่วนบนยาวไม่เกิน 3 ซ.ม. ด้านข้างตัดสั้นตรงขึ้นไปตามแบบผม ทรงอเมริกัน ไม่ใส่น้ำมันปรับแต่งทุกชนิด
และไม่ไว้หนวดเครา
2. เครื่องแบบนักเรียนหญิง
2.1 ชั้นประถมศึกษา
2.1.1 เสื้อสีขาวเนื้อเกลี้ยงเรียบ แขนสั้น คอปกทหาร เสื้อไม่รัดรูป ผ่าอกพอสมควร ห้ามใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าเยื่อไม้ ผ่าลึกพอสมควร อกติดกระดุมกิ๊ป 1 เม็ด
ปกใหญ่ขนาด 10 ซ.ม. ใช้ผ้าสองชิ้น แขนเสื้อยาวเพียงข้อศอกปลายแขนจีบ 6 เกล็ด ผ้าหุ้มปลายแขนกว้าง 3 ซ.ม. ติดกระดุมกิ๊ปพอดีกับลำแขนตัวเสื้อยาวเกิน
บั้นเอวลงไปประมาณ 5-7 ซ.ม. หรือวัดจากข้อมือขึ้นมาเมื่อยืนตรงระยะตั้งแต่ 10-15 ซ.ม. ชายขอบเสื้อด้านล่างพับ 3 ซ.ม. มีกระเป๋า 5-9 ซ.ม. ลึก 10-15 ซ.ม.
ติดที่ชายเสื้อข้างขวา 1 ใบ
2.1.2 โบว์ผูกคอใช้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 -6 ใช้ผ้าสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีเดียวกับกระโปรง ส่วนปลายกว้าง 6-8 ซ.ม. ผูกเสมอกับกระดุมกิ๊ปเม็ดแรก
2.1.3 กระโปรง ใช้ผ้าสีน้ำเงินเนื้อผ้าไม่หนามาก พื้นเรียบไม่มีลวดลาย ขอบกระโปรงกว้าง 3 ซ.ม. ตีเกล็ดด้านซ้ายขวาข้างละ 3 เม็ด ด้านหลังตีเกล็ดเช่นเดียว
กับด้านหน้า เกล็ดเย็บตะเข็บตายตัวยาว 2 ซ.ม. (จีบออกนอกตัวทั้งซ้ายขวา) ความยาวของกระโปรงวัดจากเอว (แนวสะดือ) ลงมาขณะยืนตรงให้ยาวใต้เข่า
ประมาณ10 ซ.ม. ขอบพับเข้าข้างในแล้วให้มีส่วนกว้าง 2 นิ้ว
2.1.4 ถุงเท้า ใช้ถุงเท้าสีขาวเนื้อเรียบหนาพอสมควร ไม่มีลวดลาย และขอบไม่มีสีอื่น เวลาสวมพับขอบประมาณ 3 ซ.ม. และสูงกว่าขอบรองเท้าขึ้นมา
ไม่น้อยกว่า 5 ซ.ม. (ห้ามม้วนกลม)
2.1.5 รองเท้า ใช้รองเท้านักเรียนหนังสีดำ มีสายรัด หุ้มส้น หัวมน ไม่มีลวดลายส้นสูงไม่เกิน 3 ซ.ม. และห้ามพับสายรัดไปข้างหลังส้นเท้า
2.1.6 ทรงผม นักเรียนชั้นประถมศึกษา ต้องตัดสั้น ให้มองเห็นติ่งหูเล็กน้อย จะติดกิ๊ปสีดำได้ ห้ามมีลวดลาย ผมไม่ซอย เซ็ท ย้อมสีแดง หรือดัดซอย
ให้หยิกงอ
2.2 ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3)
2.2.1 เสื้อสีขาวเนื้อเกลี้ยงเรียบ แขนสั้น คอปกทหาร เสื้อไม่รัดรูป ผ่าอกพอสมควร ห้ามใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าเยื่อไม้ ผ่าลึกพอสมควร อกติดกระดุมกิ๊ป 1 เม็ดปกใหญ่ขนาด 10 ซ.ม. ใช้ผ้าสองชิ้น แขนเสื้อยาวเพียงข้อศอกปลายแขนจีบ 6 เกล็ด ผ้าหุ้มปลายแขนกว้าง 3 ซ.ม. ติดกระดุมกิ๊ปพอดีกับลำแขนตัวเสื้อยาว
เกินบั้นเอวลงไปประมาณ 5-7 ซ.ม. หรือวัดจากข้อมือขึ้นมาเมื่อยืนตรงระยะตั้งแต่ 10-15 ซ.ม. ชายขอบเสื้อด้านล่าง พับ 3 ซ.ม. มีกระเป๋า 5-9 ซ.ม.
ลึก 10-15 ซ.ม. ติดที่ชายเสื้อข้างขวา 1 ใบ
2.2.2 โบว์ผูกคอใช้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 -6 ใช้ผ้าสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีเดียวกับกระโปรง ส่วนปลายกว้าง 6-8 ซ.ม. ผูกเสมอกับกระดุมกิ๊ปเม็ดแรก
2.2.3 กระโปรง ใช้ผ้าสีน้ำเงินเนื้อผ้าไม่หนามาก พื้นเรียบไม่มีลวดลาย ขอบกระโปรงกว้าง 3 ซ.ม. ตีเกล็ดด้านซ้ายขวาข้างละ 3 เม็ด ด้านหลังตีเกล็ด
เช่นเดียวกับด้านหน้า เกล็ดเย็บตะเข็บตายตัวยาว 2 ซ.ม. (จีบออกนอกตัวทั้งซ้ายขวา) ความยาวของกระโปรงวัดจากเอว (แนวสะดือ) ลงมาขณะยืนตรงให้ยาว
ใต้เข่าประมาณ 10 ซ.ม. ขอบพับเข้าข้างในแล้วให้มีส่วนกว้าง 2 นิ้ว
2.2.4 ถุงเท้า ใช้ถุงเท้าสีขาวเนื้อเรียบหนาพอสมควร ไม่มีลวดลาย และขอบไม่มีสีอื่น เวลาสวมพับขอบประมาณ 3 ซ.ม. และสูงกว่าขอบรองเท้าขึ้นมา
ไม่น้อยกว่า 5 ซ.ม. (ห้ามม้วนกลม)
2.2.5 รองเท้า ใช้รองเท้านักเรียนหนังสีดำ มีสายรัด หุ้มส้น หัวมน ไม่มีลวดลายส้นสูงไม่เกิน 3 ซ.ม. และห้ามพับสายรัดไปข้างหลังส้นเท้า
2.2.6 ทรงผม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ต้องตัดสั้น ให้มองเห็นติ่งหูเล็กน้อย จะติดกิ๊ปสีดำได้ ห้ามมีลวดลาย ผมไม่ซอย เซ็ท ย้อมสีแดง หรือดัดซอยให้หยิกงอ
<<TOP>>
ระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียน
ตามที่โรงเรียนได้กำหนดให้มีระเบียบของสถานศึกษาว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติตนของนักเรียนโรงเรียนบางเทาไปแล้วนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกัน มิให้นักเรียน
ละเมิดการปฏิบัติตนตามระเบียบของสถานศึกษา อีกทั้งเป็นการลงโทษนักเรียนที่ประพฤติปฏิบัติตนไม่เป็นไปตามระเบียบของสถานศึกษาที่กำหนด จึงได้กำหนดระเบียบว่าด้วยกา
รลงโทษนักเรียน โดยสอดคล้องกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา 2548 ประกอบด้วย 4 สถาน ดังนี้
1. ความผิดสถานเบา ได้แก่ความผิดเล็ก ๆ น้อย ที่ได้แสดงถึงอุปนิสัยความประพฤติ ดังนี้
1.1 แต่งกายผิดระเบียบ
1.2 กริยาวาจาหยาบคาย
1.3 หนีเรียน ไม่เข้าห้องเรียน
1.4 ไม่รักษาความสะอาดของห้องเรียน และโรงเรียน
1.5 มาโรงเรียนสายโดยไม่มีเหตุผล
1.6 ปีนรั้วเข้า ออกโรงเรียน
1.7 ส่งเสียงอึกทึกบนห้องเรียนและนอกห้องเรียน
1.8 เล่นกีฬาบนห้องเรียน
1.9 ไม่เข้าแถวเคารพธงชาติ
1.10 นำกระเป๋าผิดระเบียบมาโรงเรียนหรือไม่นำกระเป๋ามาโรงเรียน
ฯลฯ
บทลงโทษ พบอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่ออบรม บำเพ็ญประโยชน์ 1 ครั้ง และตัดคะแนน 5 คะแนน
2. ความผิดขั้นปานกลาง ได้แก่ ความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือส่วนรวม และทำให้โรงเรียนเสียชื่อเสียงของโรงเรียนหมู่คณะตามกรณี ดังนี้
2.1 ออกนอกบริเวณโรงเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต
2.2 เที่ยวกลางคืนเป็นนิจ
2.3 ประพฤติตนในทางชู้สาว
2.4 ทะเลาะวิวาท
2.5 เล่นการพนัน
2.6 สูบบุหรี่ หรือมีบุหรี่ในครอบครอง
2.7 ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรหรือผิดระเบียบการใช้รถจักรยานยนต์
2.8 ไม่ให้ความร่วมมือกับส่วนรวม
2.9 โกหกหรือให้ความเป็นเท็จต่อครู อาจารย์
2.10 ขาดเรียนเกิน 3 วัน โดยไม่ทราบสาเหตุ
2.11 ความผิดอื่น ๆ ที่เทียบเคียงกับความผิดข้างต้น
ฯลฯ
บทลงโทษ พบอาจารย์หัวหน้าระดับชั้นเรียน เพื่ออบรม บำเพ็ญประโยชน์ 1 ครั้ง และตัดคะแนน ครั้งละ 10 คะแนน
3. ความผิดสถานหนัก ได้แก่ ความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น แก่ส่วนรวม และทำให้ชื่อเสียงของโรงเรียนทั้งหมู่คณะ
3.1 นำหนังสือลกมกมาโรงเรียน
3.2 เป็นนักเลงการพนัน
3.3 ทำร้ายผู้อื่น
3.4 เป็นนักเลงอันธพาล
3.5 เสพสิ่งเสพติด ดื่มเครื่องดอง ของมึนเมา
3.6 ทำลายทรัพย์สินของส่วนรวมโดยเจตนา
3.7 แสดงกริยาลบหลู่ดูหมิ่นครู อาจารย์
3.8 หรือความผิดอื่น ๆ ที่เทียบเคียงกับความผิดข้างต้น
บทลงโทษ พบครูฝ่ายปกครอง เพื่ออบรมแก้ไขปรับปรุงพฤติกรรม บำเพ็ญประโยชน์ 1 ครั้งและตัดคะแนน 15 คะแนน
ฯลฯ
4. ความผิดขั้นร้ายแรง ได้แก่ความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น แก่ส่วนรวม และทำให้เสียชื่อเสียงของโรงเรียนร้ายแรง ซึ่งอาจมีความผิดตามกฎหมาย ดังนี้
4.1 ลักทรัพย์
4.2 มียาเสพติดไว้ในครอบครองหรือเพื่อจำหน่าย
4.3 พกพาอาวุธมาโรงเรียน
4.4 มีพฤติกรรมชู้สาวขั้นเสียหาย
4.5 ทะเลาะวิวาทสถานหนักในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียน
4.6 ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงหรือกระทำการใด ๆ ที่ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของโรงเรียนอย่างมาก
4.7 ความผิดอื่น ๆ ที่เทียบเคียงกับความผิดข้างต้น
ฯลฯ
บทลงโทษ พบรองผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง เพื่อทำทัณฑ์บนแก้ไขปรับปรุงพฤติกรรม บำเพ็ญประโยชน์ 1 ครั้งและตัดคะแนน 20 คะแนน
<<TOP>>
[กลับหน้าหลัก]
|