[x] ปิดหน้าต่างนี้
KMOBECMAXSITE 1.2.1
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานเทคโนฯ
เรื่อง : เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่


 

 

 

เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

 

 

 

[แบบทดสอบก่อนเรียน]     [แบบฝึกหัด]

เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

๑.๑ ระบบบอกตำแหน่ง

ปัจจุบันมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกได้ คือ จีพีเอส (Global Positioning System: GPS) ทำงานร่วมกับดาวเทียม ในระดับความสูง 20,200 กิโลเมตร สามารถบอกตำแหน่งได้ทุกแห่งบนโลก โดยความแม่นยำขึ้นอยู่กับจำนวนดาวเทียมที่จีพีเอสทำงานร่วมและสภาพอากาศ

ปัจจุบันได้นำระบบนี้มาใช้งานด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น การหาตำแหน่งบนพื้นโลก การนำมาสร้างเป็นระบบนำทาง (Navigator system) การใช้ติดตามบุคคลหรือติดตามยานพาหนะ นอกจากนี้ระบบจีพีเอสยังสามารถนำมาใช้อ้างอิงเพื่อปรับตั้งเวลาให้ถูกต้อง โดยใช้เวลาจากดาวเทียมทุกดวงซึ่งมีเวลาที่ตรงกัน

จีพีเอสนิยมใช้ในรถยนต์เพื่อเป็นระบบนำทาง โดยทำงานร่วมกับโปรแกรมแผนที่ที่บรรจุอยู่ในตัวเครื่อง ปัจจุบันมีการนำระบบจีพีเอสไปติดตั้งในเครื่องพีดีเอ กล้องดิจิทัล และโทรศัพท์เคลื่อนที่ การใช้งานจีพีเอสเพื่อระบุตำแหน่งบนพื้นโลกจำเป็นต้องติดต่อกับดาวเทียมอย่างน้อย ๓ ดวง ในกรณีที่ต้องการทราบความสูงของตำแหน่งจากพื้นโลกด้วย ต้องติดต่อกับดาวเทียมอย่างน้อย ๔ ดวง

๑.๒ อาร์เอฟไอดี

อาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identification: RFID) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุในการอ่านข้อมูล ใช้ในระบบป้องกันการขโมยสินค้า ระบบอ่านบัตรประจำตัวพนักงาน ระบบเก็บค่าผ่านทาง โครงสร้างของระบบประกอบด้วย ๒ ส่วนย่อย คือ ทรานสปอนเดอร์ (Transponder) และเครื่องอ่าน (Reader)

ประโยชน์ของอาร์เอฟไอดี

๑) สามารถอ่านทรานสปอนเดอร์พร้อมกันได้หลายชิ้นและใช้เวลารวดเร็ว

๒) ทนทานต่อความเปียนชื้น

๓) มีความปลอดภัยสูง ยากต่อการปลอมแปลงและเลียนแบบ

๔) ป้องกันการอ่านข้อมูลซ้ำของวัตถุชิ้นเดียวกัน

๕) สามารถอ่านข้อมูลได้โดยไม่จำเป็นต้องมองเห็นตัวทรานสปอนเดอร์

๑.๓ เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย

ปัจจุบันระบบไร้สายได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบจีเอสเอ็ม (Global System for Mobile Communication: GSM) เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีตั้งแต่ยุคที่ ๒ (2G) และยุคที่ ๓ (3G)

2G มีการบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิทัล การรับ-ส่งข้อมูลยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก

2.5G นำระบบจีพีอาร์เอส (General Packet Radio Service: GPRS) มาใช้ร่วมกับระบบจีเอสเอ็ม ทำให้สามารถรับ ส่งข้อมูและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสนี้สามารถสื่อสารข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุด 171.2 กิโลบิตต่อวินาที ต่อมาได้มีการปรับปรุงระบบจีพีอาร์เอสให้มีความเร็วในการสื่อสารสูงขึ้นถึง 384 กิโลบิตต่อวินาที เทคโนโลยีนี้ชื่อว่า เอจ (Enhanced Data Rates for Global Evolution: EDGE) ซึ่งจัดอยู่ในยุค 2.75G

3G ทำงานในระบบซีดีเอ็มเอ (Code Division Multiple Access: CDMA) อัตราเร็วในการรับส่งข้อมูล (transmission rate) ไม่ต่ำกว่า 2 เมกะบิตต่อวินาที สามารถใช้งานมัลติมีเดียความเร็วสูงได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การรับชมวีดิทัศน์จากอินเทอร์เน็ต การสนทนาแบบเห็นภาพคู่สนทนา จึงมีการพัฒนาบริการต่าง ๆ ขึ้นอีกมากมาย เช่น การให้บริการแบบมัลติมีเดียที่สามารถรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ การประชุมทางไกลผ่านหน้าจอของโทรศัพท์เคลื่อนที่

4G ทำให้การส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงกว่า 3G มีการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อัตราในการส่งข้อมูลไม่ต่ำกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที

| เข้าชม : 544 |
ผู้เขียน : นายขวัญชัย ทองจิตต์
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านบางเทา
พฤหัสบดี ที่ 29 เดือน มกราคม พ.ศ.2558
5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 2 ครั้ง.


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้